การวิ่งเป็นได้ทั้งการออกกำลังกายและการแข่งวิ่งเพื่อเข้าเส้นชัย แต่ความเหมือนที่แตกต่างกันคือ ประโยชน์ของร่างกายที่จะได้รับหลังการวิ่ง ไม่ว่าจะเป็น การทำให้ร่างกายหลังสารความสุขมากขึ้นจากการออกไปวิ่ง แล้วทำให้เห็นทิวทัศน์ของธรรมชาติรายล้อมรอบตัว หรือการช่วยเผาผลาญแคลอรี่จำนวนมหาศาลในผู้ที่วิ่งเป็นประจำ รวมไปถึงการช่วยเรื่องข้อต่อและกระดูกหรือช่วยให้ดูดีแม้มีอายุมากขึ้นก็ตาม ในขณะเดียวกันหากไม่ได้ต้องการวิ่งเพื่อออกกำลังกายเพียงอย่างเดียว และกำลังต้องการแรงบันดาลใจสำหรับการแข่งขันในระดับประเทศ ก็สามารถติดตามความเก่งของ 4 นักกรีฑาไทย สาวสวย หุ่นสวยสมส่วน สยบทุกสายตาได้ ที่มีทั้ง พิชชานันท์ มหาโชติ, ชญาณิศา ชมชื่นดี, ส.ต.ต.หญิง ปริญญา เฉือยมะเริง และบัวบาน ผามั่ง
-
พิชชานันท์ มหาโชติ
พิชชานันท์ มหาโชติ นักวิ่งหญิงไทยคนแรกที่สามารถพิชิตสนามเทรลของรายการแข่งขันระดับโลก “Ultra-Trail du Mont-Blanc 2021” ที่ว่ากันว่าเปรียบเป็นโอลิมปิกแห่งการวิ่งเทรลเลยก็ว่าได้ ซึ่งระยะทางการแข่งขันจะอยู่ที่ 100 ไมล์ หรือประมาณ 171 กิโลเมตร เส้นทางการวิ่งสุดพฤโหดนี้ต้องผ่านยอดเขามองต์บลังก์ทั้ง 3 ประเทศ คือ ฝรั่งเศส อิตาลี และสวิตเซอร์แลนด์ แต่ในท้ายที่สุด พิชชานันท์ ทำเวลาสำหรับการแข่งขันไปได้ 42 ชั่วโมง 10 นาที 56 วินาที กลายเป็นหนึ่งในผู้เข้าแข่งขันจำนวน 1,539 คนที่ทำได้สำเร็จ
-
ชญาณิศา ชมชื่นดี
แฟน ๆ กีฬาชาวไทยคงจะคุ้นหน้าคุ้นตากันดีกับ ชญาณิศา ชมชื่นดี นักกรีฑาทีมชาติไทย ประเภทกระโดดค้ำ เจ้าของเหรียญเงินเอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 18 ที่สร้างสถิติไปได้อย่างสวยงาม 4.30 เมตร สำหรับผลงานการแข่งขันเวทีของอื่น ๆ ของ ชญาณิศา จ่กตลอดหลายปีที่ผ่านมาก็มีเยอะแยะมากมาย มาเริ่มกันที่ผลงานระดับเอเชียก็เป็นเจ้าของเหรียญทองแดงกรีฑาชิงแชมป์เอเชีย ครั้งที่ 20 ปี 2013, คว้า 1 เหรียญทองแดงกรีฑาชิงแชมป์เอเชีย ครั้งที่ 22 ปี 2017 ในขณะเดียวกันก็มีผลงานระดับอาเซียน ทั้งการคว้าเหรียญทองในซีเกมส์พม่า ปี 2013, 1 เหรียญทองที่ซีเกมส์สิงคโปร์ ปี 2015 และคว้าอีก 1 เหรียญทองใน ซีเกมส์มาเลเซีย ปี 2017
-
ส.ต.ต.หญิง ปริญญา เฉือยมะเริง
ส.ต.ต.หญิง ปริญญา เฉื่อยมะเริง นักเขย่งก้าวกระโดดและกระโดดไกลหญิงทีมชาติไทย ผู้เป็นเจ้าของเหรียญทองในประวัติศาสตร์การแข่งขันประเภทเขย่งก้าวกระโดดหญิง ที่ทำสถิติไกลได้ถึง 13.72 เมตร ในการแข่งขันกรีฑาชิงแชมป์เอเชีย 2019 ที่กรุงโดฮา ประเทศกาตาร์ ตามมาด้วยการคว้าอีก 1 เหรียญเงิน ในการแข่งขันเอเชียนเกมส์ 2018 ที่ประเทศอินโดนีเซีย
-
บัวบาน ผามั่ง
แม้ในปัจจุบัน บัวบาน ผามั่ง นักกรีฑาประเภทพุ่งแหลนหญิง จะประกาศอำลาทีมชาติไปนานกว่า 11 ปีแล้ว แต่ บัวบาน ก็ยังคงถูกจดจำว่าเป็นนักกีฬาทีมชาติที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดคนหนึ่งในวงการพุ่งแหลนของไทย ด้วยผลงานการแข่งขันจากหลายเวทีการันตีความเก่ง อาทิ การคว้าเหรียญเงินในศึกเยาวชนชิงแชมป์เอเชียที่ประเทศบรูไน เมื่อปี 2001, 1 เหรียญทอง ในกีฬาซีเกมส์ครั้งที่ 21 ที่ประเทศมาเลเซีย, คว้าอย่างละ 1 เหรียญทอง ในซีเกมส์ครั้งที่ 22 ที่ประเทศเวียดนาม ปี 2003 และซีเกมส์ครั้งที่ 23 ที่ประเทศฟิลิปปินส์ในปี 2005 ยังไม่รวมถึง การคว้าเหรียญทองกีฬามหาวิทยาลัยโลกครั้งที่ 24 ที่ยังครองสถิติประเทศไทย 61.40 เมตร และยังไม่มีใครมาลบล้างสถิติเดิมที่ทำไว้ได้
เมื่อวิ่งไปได้ซักระยะแล้วหากต้องการเพิ่มประสิทธิภาพในการวิ่ง ผู้ฝึกก็สามารถทำได้กับการไปตรวจสุขภาพพร้อมทั้งวัดความฟิตในรูปแบบต่าง ๆ เช่น วัดความฟิตของกล้ามเนื้อที่จำเป็นต่อวงสวิง ลดการบาดเจ็บ ได้จากแพ็คเก็จของโรงพยาบาลต่าง ๆ หรือต้องการสอบถามรายละเอียดเรื่องค่าใช้จ่ายหรือการตรวจวัดต่าง ๆ ก็สามารถไปปรึกษาจากคุณหมอก่อนได้ ข้อดีของการรู้จุดเด่นและจุดด้อยของร่างกายตัวเอง ก็จะช่วยให้ร่างกายพัฒนาไปได้อย่างถูกทาง พร้อมกับการมีประสิทธิภาพที่ดีในการวิ่งต่อไป
ใส่เดินยังว่ายาก แต่จะเป็นยังไงเมื่อมีกีฬา “วิ่งแข่งส้นสูง” 3 นิ้วขึ้นไป!
เรียกได้ว่าเป็นความท้าทายขั้นสุดของการใส่ส้นสูงเลยก็ว่าได้ สำหรับงานวิ่งสุดแปลกที่ต้องใส่ส้นสูงตลอดการแข่งขัน อย่างงานที่มีชื่อว่า Running in High Heels ที่ถูกจัดขึ้นในหลายประเทศทั่วโลก เช่น ในกรุงมาดริดของประเทศสเปนก็จะมีงานวิ่งแข่งส้นสูงที่ต้องใส่ส้นสูงไม่ต่ำกว่า 15 เซนติเมตร หรือ 5.9 นิ้ว ที่เป็นส่วนหนึ่งของงาน Gay pride หรือจะเป็นงานแข่งวิ่งที่เมืองบัฟฟาโล รัฐนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา ที่นักวิ่งทั้งหญิงและชายที่เข้าร่วมแข่งขันจะต้องสวมรองเท้าส้นสูง 3 นิ้ว และวิ่งแข่งกันเป็นระยะทาง 500 เมตร เป็นต้น ที่เป็นจุดเริ่มต้นของการวิ่งแข่งส้นสูงและเรากำลังจะพูดถึงรายละเอียดกันในบทความนี้
จุดเริ่มต้นของกีฬาอันโด่งดังที่ต้องใส่ส้นสูงวิ่งตลอดการแข่งขัน “วิ่งแข่งส้นสูง”เกิดจากแนวคิดของคุณ Sue Marfino เจ้าของแบรนด์รองเท้า ShoeFly ที่มีความต้องการที่จะทำให้รองเท้าเป็นที่รู้จักด้วยการเป็นไวรัลเล็ก ๆ พร้อมกับเจาะฐานกลุ่มลูกค้าเฉพาะเจาะจงลงไปในย่าน Elmwood Village ซึ่งเป็นชุมชนหนึ่งในบัฟฟาโล รัฐนิวยอร์ก ในขณะเดียวกันก็ต้องการหารายได้เพื่อที่จะนำไปมอบให้กับมูลนิธิสถาบันมะเร็งรังไข่ หรือ Ovarian Cancer National Alliance ซึ่งเป็นการช่วยเหลือผู้ป่วยโรคมะเร็งรังไข่ที่มีสูงมากกว่า 20,000 ราย และมีผู้เสียชีวิตสูงถึง 15,000 รายต่อปี
กฎกติกาของการแข่งขันกำหนดไว้ว่า ผู้เข้าแข่งขันจะต้องวิ่งด้วยรองเท้าส้นสูง จะส้นแบบไหน สีใดแบบไหนก็ได้ แต่ความสูงของรองเท้าต้อง 3 นิ้วขึ้นไป เป็นอย่างน้อย โดยระยะทางในการวิ่งจะอยู่ที่ 0.5 กิโลเมตร หรือ 500 เมตร ส่วนเรื่องการแต่งกายนั้นจะแต่งอย่างไรก็ได้ไม่ได้กำหนดเอาไว้ สำคัญที่เรื่องความสูงของรองเท้าเท่านั้นที่ต้องมากกว่า 3 นิ้วขึ้นไป การจัดงานที่ว่านี้นอกจากจะได้ว่าที่ผู้ชนะแล้ว ยังช่วยทำให้แบรนด์รองเท้า ShoeFly เป็นที่รู้จักเพิ่มมากขึ้น ช่วยเพิ่มรายได้ให้กับร้านรวงที่ออกมาเปิดบูธภายในงาน ตลอดจนได้นำเงินส่วนหนึ่งที่ได้จากกิจกรรมไปบริจาคให้แก่ทางโครงการวิจัย เพื่อทำการช่วยเหลือผู้ป่วยที่เป็นโรคมะเร็งรังไข่ หนึ่งในความตั้งใจของคุณ Sue Marfino ที่ต้องการช่วยเหลือผู้ป่วยไว้ตั้งแต่แรกด้วย
แม้ว่าการแข่งขันล่าสุดในนิวยอร์กจะถูกหยุดไว้ในปี 2016 และไม่มีการกลับมาแข่งอีกเลย ถ้านับเป็นจำนวนครั้งก็ประมาณ 8 ครั้งกับประเพณีการจัดงานที่ว่านี้ แต่มันก็ไม่ได้หายไปซะทีเดียวเพราะเหมือนเป็นการกระจายประเพณีไปสู่ประเทศอื่น ๆ แทน อย่างที่กล่าวไปข้างต้นกับงานวิ่งที่เป็นส่วนหนึ่งในงาน Gay pride ที่ไม่ได้จำกัดเพียงเฉพาะเพศทางเลือกอย่าง LGBT แต่ผู้หญิง ผู้ชาย และเพศอื่น ๆ ก็สามารถเข้าแข่งขันได้ทั้งหมด โดยผู้ชนะในการแข่งขันก็จะได้เงินรางวัลติดไม้ติดมือกลับบ้านไปด้วยมูลค่า 409 ดอลลาร์สหรัฐ หรือ หากคิดเป็นเงินไทยก็อยู่ที่ราว ๆ 13,000 บาท
แม้ว่ากฎกติกาในการแข่งจะไม่มีอะไรที่ซับซ้อน สามารถอ่านแล้วทำความเข้าใจได้ในทันที แต่การแข่งขันชนิดนี้ก็มีความเสี่ยงอยู่มากหากไม่มีการเซฟที่ดี แต่ถึงแม้จะระวังตัวมากแค่ไหนแต่อุบัติเหตุที่จะเกิดจากการทรงตัวไม่ดีหรืออาการบาดเจ็บจากข้อเท้าพลิก ก็สามารถเกิดขึ้นได้ตลอดการแข่งขัน เอาเป็นว่าหากใครที่ตัดสินใจอยากสัมผัสประสบการณ์ใหม่ ๆ ให้กับการวิ่งก็ต้องเตรียมตัวเตรียมใจมาให้พร้อมประมาณหนึ่งและยอมรับกับความเสี่ยงภายใต้การแข่งขันที่อาจเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ
ref.